วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

สัมมาทิฏฐิที่ 3 ความเห็นเกี่ยวกับการบูชาบุคคลที่ควรบูชา


สัมมาทิฏฐิที่ 3 ความเห็นเกี่ยวกับการบูชาบุคคลที่ควรบูชา
                                 ภาพ 5.12
                                       นางสุชาดาบูชาพระพุทธเจ้า
การบูชา หมายถึง การนำสิ่งของที่สมควรไปสักการะ หรือมอบให้ผู้ที่ควรบูชา
บุคคลที่ควรบูชา คือ บุคคลที่ประกอบคุณงามความดี ทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่น ดังนี้
 1. บุคคลที่มีพระคุณต่อตัวเราโดยตรง และท่านยังมีชีวิตอยู่ เช่น มารดา บิดา ครูอาจารย์ ญาติผู้ใหญ่ ผู้บังคับบัญชา ตลอดจนผู้มีอุปการคุณในด้านต่างๆ
2. บรรพบุรุษ และญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้ว
3. บุคคลที่มีศีลธรรมสูงส่ง มีความสำเร็จในชีวิต สมควรเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมได้
4. สมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ซึ่งกำลังมุ่งมั่นพัฒนาผู้คนในสังคม
จุดมุ่งหมายของการบูชาบุคคลที่ควรบูชา
1. เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที แก่ผู้ที่เคยมีพระคุณแก่เราเองมาก่อน
2. เพื่อแสดงการยอมรับนับถือ ให้เกียรติยกย่องบุคคลที่เราเห็นว่ามีคุณงามความดี
3. เพื่อประกาศเกียรติคุณให้โลกรู้ เป็นแบบอย่างบุคคลผู้บำเพ็ญความดีที่ควรปฏิบัติตาม
4. เพื่อสร้างค่านิยมที่ถูกต้อง เคารพในศีลธรรม ความดี ไม่ใช่ยศตำแหน่ง ความร่ำรวย
5. เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้คอยจับผิด คิดอิจฉาริษยาผู้อื่น สังเกตคุณความดีของผู้อื่น
พระพุทธศาสนา เรียกการนำสิ่งที่สมควร เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน สิ่งของเครื่องใช้
อาหารที่ประณีตไปสักการะว่า
การเซ่นสรวง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า การเซ่นสรวงมีผล การนำสิ่งของที่สมควรมอบให้ผู้ที่ควรยกย่องในวาระเหมาะสม ย่อมมีผลดีมีประโยชน์ควรทำอย่างยิ่ง
สรุป สัมมาทิฏฐิที่ 3 คือ การบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผล คือมีผลดีในการส่งเสริมให้ทุกผู้คนในสังคมถือธรรมเป็นใหญ่ มีจิตใจผ่องใส เกิดกำลังใจในการทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป และก่อให้เกิดความสามัคคีของคนในชาติ
________________________
     1ผู้ประพันธ์ ลำยวน นิธิกุล, วิทยาลัยอาชีวเสาวภา, 2549.
      ภาพ  5.12  ที่มา : หนังสือพระปริตรธรรม พระคันธสาราภิวงศ์, 2549
สัมมาทิฏฐิที่ 4 ความเห็นเกี่ยวกับผลของกรรมดี และ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น