วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

สัมมาทิฏฐิที่ 2 ความเห็นเกี่ยวกับการสงเคราะห์


จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการแบ่งปัน คือ เพื่อป้องกันมิให้คนเราคิดโลภเห็นแก่ได้ และแสดงพฤติกรรมไร้น้ำใจต่างๆ อันจะนำไปสู่การผิดศีล ผิดกฎหมายในที่สุด การแบ่งปันกันอย่างถูกวิธีจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ ดังนี้
1. เพื่อป้องกันการอยู่แบบตัวใครตัวมัน เพราะคนเราต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ไม่มีใครสามารถอยู่อย่างมีความสุขสบายตามลำพังได้
2.  เพื่อป้องกันปัญหามือใครยาวสาวได้สาวเอา เพราะจะทำให้ผู้ที่มีความรู้ต่ำ ความสามารถ และประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ ต้องเดือดร้อน ขาดแคลน อดอยาก
3. เพื่อป้องกันการเอาเปรียบ เบียดเบียนผู้อื่นที่ด้อยกว่าในด้านต่างๆ
4. เพื่อป้องกันความเห็นแก่ตัว โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้คนที่อยู่ร่วมกัน
ในสังคม ทั้งๆ ที่ตนเองก็มีอยู่อย่างล้นเหลือ จะกินจะใช้อย่างไร ก็ไม่รู้จักหมดสิ้น
สรุป สัมมาทิฏฐิที่1 ทานมีผล หรือการแบ่งปันมีผล คือ มีผลให้คนเราสามารถป้องกันและกำจัดความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัวออกจากใจได้ ขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มพูนความปรารถนาดี ต่อกันและกันระหว่างผู้ให้กับผู้รับ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม

สัมมาทิฏฐิที่ 2 ความเห็นเกี่ยวกับการสงเคราะห์
 
            ภาพ 5.10                                                     ภาพ 5.11
     ทุนโปลิโอสงเคราะห์                                    ทุนอาหารสงเคราะห์
การสงเคราะห์ หมายถึง การให้ความช่วยเหลือกลุ่มชนในสังคมที่มีปัญหา หรือประสบปัญหาต่างๆ แตกต่างจากเรื่อง ทาน ในข้อ 1 ซึ่งเป็นการให้แก่บุคคลเป็นรายตัว มิใช่กลุ่มชน
ในสังคม ดังนั้นสงเคราะห์ในที่นี้จึงหมายถึง สังคมสงเคราะห์
___________________
ภาพ  5.10  ที่มา : หนังสือนวมหาราชสดุดี, 2531
ภาพ  5.11  ที่มา : หนังสือบทกวีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2534

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น