วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

อริยมรรคมีองค์ 8


              
       อริยมรรคมีองค์ 8 ประกอบด้วย

                   1.  สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ 4 หรือเห็นไตรลักษณ์ คือ รู้อกุศล และอกุศลมูล รู้กุศลและกุศลมูล หมายถึงรู้ทันโลกไม่ทำชั่วทั้งปวง
               2.  สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัปป์ อพยาปาทสังกัปป์ อวิหิงสาสังกัปป์ หมายถึง ดำริออกจากกาม ไม่พยาบาท และไม่เบียดเบียน
               3.  สัมมาวาจา เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต 4 เว้นพูดคำเท็จ เว้นพูดคำหยาบ เว้นพูดส่อเสียด และเว้นพูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริงที่เป็นประโยชน์
               4.  สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต 3 ไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียน ไม่ลักทรัพย์
ไม่ประพฤติผิดในกาม
               5.  สัมมาอาชีวะ  เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบอาชีพสุจริต
               6.  สัมมาวายามะ พยายามชอบ ได้แก่ พยายามลดละความชั่วทั้งกายและใจ
               7.  สัมมาสติ ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 มีสติอยู่กับอิริยาบถของตนเอง ไม่ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส
               8.  สัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน 4 ซึ่งเป็นภาวะจิตสงบเพ่งอารมณ์แน่วแน่
จนมีความหยั่งเห็นด้วยปัญญาในจิตจนดับทุกข์ได้
การปฏิบัติตามทางสายกลางซึ่งเป็นหลักพุทธธรรมที่นำชีวิตไปสู่เศรษฐกิจพอเพียงนั้น
ต้องเริ่มต้นด้วย สัมมาทิฏฐิ หรือ ความเห็นชอบ ความเห็นถูกต้อง เพราะเป็นบันไดขั้นแรกของ  การปฏิบัติตามทางสายกลาง เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของการคิด การพูด การกระทำ การเลี้ยงชีพ การพยายามลดละความชั่ว ทั้งกายและใจ มีสติตั้งมั่นอยู่ในความดี ไม่ปล่อยใจไปตามกิเลส และขั้นสูงสุดคือมีภาวะจิตที่สงบ มีความหยั่งเห็นด้วยปัญญาดับทุกข์ได้  จึงควรศึกษาเรื่อง สัมมาทิฏฐิ       10 ประการ ให้เข้าใจละเอียดชัดเจน ดังนี้

สัมมาทิฏฐิที่ 1  ความเห็นเกี่ยวกับการแบ่งปัน1
มนุษย์จะมีชีวิตรอดอยู่ในโลกนี้ได้ ต้องมีปัจจัยในการดำรงชีวิตอย่างน้อย4ประการ คือ
1. ที่อยู่อาศัย หมายรวมทั้งอาคารและพื้นแผ่นดินตลอดจนที่ดินสำหรับทำมาหากินด้วย
2. อาหาร
3. เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม
4. ยารักษาโรค รวมเรียกว่าปัจจัย 4 รองลงมาก็เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ การแบ่งปันขั้นพื้นฐานมี 3 ประการ คือ ปันกันอยู่ ปันกันกิน ปันกันใช้ การแบ่งปันที่มีความสำคัญรองลงไปก็อาจจะเป็น การแบ่งปันความรู้ การแบ่งปันอาชีพ หรือสิ่งอื่นใดก็ขึ้นอยู่กับความขาดแคลน และความพร้อมของทั้งฝ่ายผู้รับและผู้ให้


___________________
1ชมรมพุทธศาสตร์สากล. เข้าไปอยู่ในใจ. (กรุงเทพฯ : เชอรี่กราฟฟิค, ม.ป.ป.), หน้า 18-90.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น