วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

สังคมสงเคราะห์เป็นการพัฒนาสังคม


สังคมสงเคราะห์เป็นการพัฒนาสังคม

เนื่องจากปัจจุบันบ้านเมืองของเรา มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหา ความทุกข์ยาก ความขาดแคลน และความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิต เช่น ผู้ทุพพลภาพแต่กำเนิด ผู้ทุพพลภาพจากอุบัติเหตุและอุบัติภัยต่างๆ คนชราที่ยากไร้ เด็กกำพร้า ผู้ประสบสาธารณภัยต่างๆ ผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น ผู้คนเหล่านี้ไม่สามารถช่วยตนเองได้ จำเป็นที่บรรดาบุคคลซึ่งมีกินมีใช้ ไม่เดือดร้อน บุคคลที่มีฐานะมั่งคั่ง ร่ำรวย ควรเข้าไปให้ความช่วยเหลือประคับประคองบุคคลผู้โชคร้าย ดังนี้
1. ให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ 
2. มีโอกาสได้รับการศึกษาพัฒนาให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
3. สามารถแก้ปัญหาเร่งด่วนที่ตนกำลังเผชิญอยู่ได้สำเร็จ
ถ้าผู้คนทุกหมู่เหล่าสามารถช่วยตนเองได้ ก็จะไม่ก่อปัญหาขึ้นในสังคม นอกจากนี้
ก็ยังมีสมณพราหมณ์ คือ พระภิกษุสงฆ์ ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่ธรรม เป็นครูบาอาจารย์สอนวิชาศีลธรรม สอนความเป็นมนุษย์ให้แก่ผู้คนในสังคม ให้ตั้งมั่นอยู่ในสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นถูกต้อง ไม่หลง
มัวเมากับความเห็น อันเป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือ ความเห็นผิด  ไม่ก่อปัญหาเดือดร้อนต่างๆ ขึ้นในสังคม
บุคคลที่มีน้ำใจเสียสละทำสังคมสงเคราะห์เป็นนิสัย ความเสียสละนี้นอกจากจะสามารถเป็นภูมิคุ้มกันตนเอง ไม่ให้เกิดความโลภ ความโกรธ และความหลงขึ้นได้โดยง่ายแล้ว   ยังก่อให้เกิดอานิสงส์อย่างมาก คือ
1. ผู้ที่ทำสังคมสงเคราะห์ ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้คนเป็นอันมาก
2. คนดีย่อมอยากคบค้าสมาคมด้วย
3. ผู้ที่ทำสังคมสงเคราะห์ย่อมมีชื่อเสียงขจรขจายไปไกล
4. ผู้ที่ทำสังคมสงเคราะห์ย่อมเป็นผู้องอาจ ไม่เก้อเขิน เมื่อเข้าไปอยู่ในที่ประชุมใหญ่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมว่าการทำสังคมสงเคราะห์มีผลดี มีประโยชน์มาก ควรทำอย่างยิ่ง  ใครก็ตามที่เห็นว่า การสงเคราะห์มีผล ผู้นั้นเป็นผู้มีความเห็น ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ
สรุป สัมมาทิฏฐิที่ 2 คือ การทำสงเคราะห์ที่บูชาแล้วมีผล คือ มีผลช่วยให้ตนเองสามารถป้องกัน และกำจัดความโลภได้อย่างกว้างขวางและยั่งยืนขึ้น ขณะเดียวกันก็สามารถเพิ่มพูนความรักความปรารถนาดีต่อมวลมนุษย์ที่อยู่ร่วมโลกเดียวกันให้กว้างขวางยิ่งๆ ขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น