วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

“พุทธพจน์” ดังกล่าวมีนัยที่สำคัญ


พุทธพจน์ ดังกล่าวมีนัยที่สำคัญ ดังนี้
ไม่ว่ามนุษย์หรือดิรัจฉาน ที่ถือกำเนิดมามีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ล้วนเป็นการรับผลของกรรม ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่วที่แต่ละชีวิตเคยทำไว้ในอดีตชาติ คือเป็นทายาทติดตามรับผลแห่งกรรมที่ตนทำไว้  ย่อมอุบัติ  คือเกิดด้วยอำนาจกรรมที่ทำไว้เอง
ทุกชีวิตเมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ยังต้องมีชีวิตหลังความตายต่อไป ตราบที่ยังไม่หมดกิเลส
แต่ละชีวิตจะถือกำเนิดใหม่ เป็นอะไร มีเผ่าพันธุ์ มีคุณสมบัติอย่างไรขึ้นอยู่กับกรรมดีหรือชั่วที่ตนทำไว้เองในชาตินี้ คือมีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
2.  สถานที่สถิตของชีวิตหลังความตาย เป็นเรื่องที่แน่นอนว่าเมื่อใดมีการถือกำเนิดของชีวิต ก็จำเป็นจะต้องมีสถานที่รองรับชีวิตนั้น จากประสบการณ์ในชีวิตนี้ก็พอจะจินตนาการออกว่า เราได้ถือกำเนิดอย่างใดสำหรับชีวิตอยู่อาศัย แต่ถ้าเราได้ถือกำเนิดในครอบครัวที่ลำบากยากจนข้นแค้น
มีพ่อขี้เมาหยำเปตลอดกาล เราจะมีสถานที่อย่างใดสำหรับอยู่อาศัย หรือถ้าเราได้ถือกำเนิดเป็นดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง เราก็ย่อมจะมีสถานอาศัยที่เหมาะกับสภาพชีวิตนั้นๆ โดยสรุปก็คือ โลกคือสถานที่สำหรับรองรับให้เราได้อาศัยอยู่ในโลกหน้า อาจจะมีสภาพดีกว่าหรือย่ำแย่กว่าสภาพที่เราอยู่ในขณะนี้ ล้วนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ทั้งสิ้น
สาเหตุที่เราต้องศึกษาพุทธธรรม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่อง โลกหน้า ก็เพราะความรู้เรื่องนี้จะช่วยให้เราเกิดปัญญา และสามารถเตรียมความพร้อมอย่างถูกต้อง เพื่อการบรรลุสันติสุขอันไพบูลย์ อันเป็นยอดปรารถนาของมวลมนุษย์ชาติ 
                      ภาพ 5.16                                      ภาพ  5.17
                     กรรมของดิรัจฉาน                   ชีวิตที่กระเสือกกระสน



________________________
     ภาพ 5.16  ที่มา : หนังสืออภิมหามงคลธรรม, ม.ป.ป.
ภาพ 5.17  ที่มา : หนังสือ79 ปี สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์, 2544

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น