วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

เกษตรกรผู้ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


ภาระหน้าที่ของ ดร.สุเมธ ที่ท่านปฏิบัติทุกวันนี้ คือ นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประธานมูลนิธิไทยใสสะอาด และที่สำคัญเป็นกรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่ ดร.สุเมธ ทำงานกับมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลายโอกาส ได้สะสมความรู้จากหลักการทรงงานของพระองค์ท่าน ถ่ายทอดออกสู่ประชาชนในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะเมื่อย้อนไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายคนคงรู้สึกถึงสภาพบ้านเมืองที่ไม่นิ่ง หลายคนสับสน และกังวล ยึดติดอยู่กับระบบทุนนิยมจนเกินไป ดร.สุเมธ จึงได้ถ่ายทอดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หวังให้ประชาชนน้อมนำแนวพระราชดำริดังกล่าวจากในหลวงไปประยุกต์ใช้กับตนเองให้เหมาะสม
หลายสถาบัน องค์กร ได้เชิญ ดร.สุเมธ บรรยายให้ผู้ฟังตระหนักเข้าใจอย่างเป็นรูปธรรม ดร.สุเมธ ยังถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าประทับใจไว้ในหนังสือ 2 เล่ม คือ ใต้เบื้องพระยุคลบาท และหลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
คุณประโยชน์ ที่ ดร.สุเมธ ได้ปฏิบัติตลอดมา ทำให้หลายหน่วยงานมอบรางวัล และ   โล่ประกาศเกียรติคุณมากมาย อาทิ ได้เป็นบุคคลตัวอย่างในความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ จงรักภักดี ประจำปี 2537 จากมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อีกทั้งท่านยังได้รับพระราชทาน         เครื่องราชอิสริยาภรณ์หลายระดับ
สรุป แนวทางการดำเนินชีวิตของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ถือเป็นแบบอย่างที่ดีเลิศ
ในการปฏิบัติตนตามหลักพุทธธรรมและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปสมควรนำไปเป็นแบบอย่างประพฤติปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

เกษตรกรผู้ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
วินัย สุวรรณไตร
นายวินัย สุวรรณไตร อายุ ๕๒ ปี อาชีพเกษตรกร บ้านเลขที่ ๕๗ หมู่ ๘ บ้านหลุมมะขาม ตำบลหนองไม้แก่น อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา การศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ ๖ การศึกษานอกโรงเรียน
การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำเนินชีวิตตาม ทางสายกลาง ไม่เกินตัว ไม่เกินความรู้ความสามารถ ครอบครัวมีกิน มีใช้ มีหลักประกันที่ดี โดยยึดหลักการ กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน ทำเท่าที่ทำได้นายวินัย สุวรรณไตร เริ่มดำเนินชีวิตแบบพอเพียงตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากนโยบายพักชำระหนี้เกษตรกรของธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ส่งผลให้นายวินัยเริ่มหันมาสนใจชีวิตตัวเอง ด้วยการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย พบว่าปัญหาที่สำคัญคือภาวะหนี้สิน เพราะเน้นการผลิตเพื่อจำหน่าย จึงเริ่มสนใจที่จะแก้ไขปัญหาชีวิตตนเองมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งแนวพระราชดำรัสของพ่อหลวงในวันที่ 4 ธันวาคม 2540
เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ได้ตอกย้ำให้อยากหลุดพ้นจากปัญหาหนี้สินเพิ่มยิ่งขึ้น จนกระทั่งในปลายปี พ.ศ. 2542 ได้มีเหตุการณ์ทำให้ชีวิตครอบครัวเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น